Call us now:
เปิดใจเจ้าของเพจ ทนายสายอ่าน และ บทบาทนักกฏหมายแห่ง บริษัท นิติธร ซัมมิท กรุ๊ป หรือ “เอกพล ยวงนาค” อยากให้คนไทยลดความเสี่ยงทางด้านกฎหมาย ให้นักกฎหมายดูแล เพื่อให้เรื่องราวปัญหาของเอกสาร มีอัตราความเสี่ยงต่อข้อกฎหมายเกิดน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
เอกพล ยวงนาค กรรมการผู้จัดการ บริษัท นิติธร ซัมมิท กรุ๊ป จำกัด ที่ให้บริการเรื่องของความเข้าใจในเอกสารด้านกฎหมาย คู่ค้าสัญญา และ เอกสารต่างประเทศ เล่าให้ฟังบริบทของความแตกต่างระหว่าง ทนาย กับ นักกฎหมาย ที่เชื่อว่า หลายคนยังสับสน และ แยกไม่ออก ว่าเราต้องปรึกษาหรือ ไปหาใคร
“ในมุมมองของผม คนที่เรียนจบมาทางด้านกฎหมาย เราเรียกว่า “นักกฎหมาย” ได้ทุกคน เพราะแต่ละคนมีความรู้ทางด้านกฎหมาย สามารถนำความรู้ทางด้านกฎหมายไปต่อยอดงานทางด้านกฎหมายได้ หากเรียนจบหลักสูตรเรียบร้อยแล้ว เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่ต้องเลือกแล้ว ว่าจะประกอบอาชีพทางด้านไหน เพราะผู้ที่จบมาทางด้านกฎหมาย สามารถที่จะประกอบอาชีพตามความถนัดของตนเองได้”
ทั้งนี้ เขาอธิบายต่อว่า
“แต่เมื่อไรก็ตามที่เราใช้คำว่า “ทนายความ ภาพที่คนส่วนมากนึก จะนึกถึงภาพคนสวมชุดครุยไปว่าความที่ศาล” ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะตามพระราชบัญญัติทนายความ พศ. 2528 ทนายความหมายถึงผู้ที่สภาทนายความได้จดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ และปัจจุบันที่สภาทนายความได้ดำเนินการคือมีสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ ซึ่งผู้ที่จะทำการว่าความได้นั้น ต้องผ่านการอบรมและขึ้นทะเบียนก่อน อย่างไรก็ตาม งานสำหรับผู้ที่จบกฎหมายแล้ว ไม่ได้มีแค่ การว่าความ แต่มีงานอื่นๆด้วย ไม่ว่าจะเป็นงานที่ปรึกษากฎหมาย ผู้พิพากษา อัยการ ทนายผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารสัญญา เป็นต้น ซึ่งคนกลุ่มนี้ อยู่ในกลุ่มภาพรวมที่เรียกว่านักกฎหมาย ดังนั้นความแตกต่างจึงไม่มี อยู่ที่บริบท และ บทบาทของคนเรียนจบสายกฎหมายที่จะออกแบบชีวิตให้กับตัวเองว่าอยากทำงานด้านใด”
แต่เมื่อพูดถึงยุคปัจจุบัน และ ย้อนไปอดีต คนไทยมักจะรู้ข้อกฎหมายแบบลงรายละเอียดค่อนข้างน้อย และ อ่านไม่ค่อยขาดในเรื่องของการตีความ คุณเอกมองว่า เป็นเพราะสาเหตุอะไร และ มีอะไรที่พอจะนำให้คอนเทนต์เกี่ยวกับกฎหมาย เป็นที่สนใจในกลุ่มของผู้อ่านในยุคนี้ เพราะผู้คนมักกลัว กังวลใจ จึงเลือกไม่ข้องเกี่ยว และ ตัดปัญหาเวลาพูดถึงเรื่องราว กฎหมาย
“สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับ และทำให้เข้าใจได้ ในทุกยุคสมัย ภาษากฎหมายนั้น จะมีภาษาเฉพาะที่ คนทั่วไปมักจะไม่เข้าใจ พอคนทั่วไปเจอภาษากฎหมาย ก็จะเริ่มไม่มั่นใจแล้วว่าสิ่งที่ตนเองเข้าใจนั้น ถูกต้องหรือไม่ คำที่อ่านนั้น มีความหมายอะไรแอบแฝงอยู่หรือไม่ ดังนั้น งานตีความและแปลจึงเป็นหน้าที่ของนักกฎหมายที่จะเข้ามาช่วยทำความเข้าใจ และ อธิบายเรื่องราวของเอกสารทางกฏหมาย” เอกพล กล่าว
และ ในครั้งนี้มาแชร์ความรู้ เกร็ดใจความสำคัญ เวลาพบเจอเอกสาร ตัวย่อ ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารในด้านกฎหมาย หรือเราอาจจะเคยได้ยิน ได้อ่าน ผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง เป็นอักษรย่อสำหรับกลุ่ม ธุรกิจ สำหรับการใช้การลงนามสนธิสัญญา
เอกสาร 3 ตัว มีความแตกต่างกันอย่างไร และ นำมาใช้กับเอกสารอะไรบ้าง ดังนี้
“LOI, MOU และ MOA ล้วนเป็นคําย่อที่ใช้กันทั่วไปในบริบททางธุรกิจและกฎหมายเพื่ออธิบายข้อตกลงหรือความเข้าใจประเภทต่างๆ ระหว่างคู่สัญญา บางครั้งก็มีการใช้คล้ายๆกัน แต่ถ้าจะให้แยกรายละเอียดของความแตกต่าง ก็อาจจะให้ความแตกต่างได้ในบางเรื่อง:
LOI คือหนังสือแสดงเจตจํานงค์ ซึ่งเป็นเอกสารที่สรุปความเข้าใจเบื้องต้นระหว่างคู่สัญญาที่ตั้งใจจะทําข้อตกลงหรือธุรกรรมอย่างเป็นทางการ โดยมักใช้ในการเจรจาธุรกิจเพื่อแสดงเจตจํานงที่จะดําเนินการเจรจาและร่างข้อกําหนดและเงื่อนไขพื้นฐานของข้อตกลงที่อาจเกิดขึ้น โดยทั่วไปแล้ว LOI จะไม่มีผลผูกพัน ซึ่งหมายความว่าไม่มีข้อผูกมัดทางกฎหมายให้คู่สัญญาทําธุรกรรมให้เสร็จสิ้น แต่จะกําหนดกรอบสําหรับการเจรจาเพิ่มเติม และวัตถุประสงค์ของ LOI คือการแสดงเจตนาระหว่างคู่สัญญา เพื่อเป็นพื้นฐานสําหรับการร่างข้อตกลงอย่างเป็นทางการ
MOU และ MOA นั้น ในทางภาษาไทย บ่อยครั้งที่เราเรียกเหมือนกัน คือบันทึกความเข้าใจหรือบันทึกข้อตกลง ถ้าจะพอแยกเพื่อตีความหมาย ข้อแตกต่างระหว่าง MOU กับ MOA
MOU จะเป็นเอกสารที่เป็นทางการมากกว่า LOI และแสดงถึงความมุ่งมั่นในระดับที่สูงขึ้นระหว่างคู่สัญญา โดย MOU จะสรุปความเข้าใจ วัตถุประสงค์และความรับผิดชอบร่วมกันของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายในการเข้าทำธุรกรรมกัน MOU มักใช้ในบริบทต่างๆ รวมถึงความร่วมมือทางธุรกิจ ข้อตกลงระหว่างประเทศ แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว MOU จะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่อาจมีบทบัญญัติที่บังคับใช้ได้ตามกฎหมาย เช่น ข้อกําหนดการรักษาความลับหรือข้อกําหนดที่ควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา
ในส่วนของ MOA นั้น จะเป็นเอกสารอย่างเป็นทางการที่แสดงถึงความมุ่งมั่นที่มีความเป็นไปได้ที่มากขึ้นระหว่างคู่สัญญาเมื่อเทียบกับ MOU โดย MOA จะให้รายละเอียด ข้อกําหนดและเงื่อนไขเฉพาะที่ตกลงกันโดยคู่สัญญา รวมถึงภาระผูกพัน ความรับผิดชอบ ระยะเวลา และข้อกําหนดสําคัญอื่นๆ ซึ่งแตกต่างจาก MOU เพราะ MOA มักถูกพิจารณาว่ามีผลผูกพันทางกฎหมายและอาจบังคับใช้ในชั้นศาล
กล่าวสรุปโดยย่อคือ
- หนังสือแสดงเจตจํานง (LOI): เอกสารเบื้องต้นที่แสดงเจตจํานงที่จะดําเนินการเจรจา
- บันทึกความเข้าใจ (MOU): ข้อตกลงอย่างเป็นทางการที่สรุปความเข้าใจและวัตถุประสงค์ร่วมกัน ซึ่งมักจะไม่มีผลผูกพัน แต่มีบทบัญญัติที่บังคับใช้ได้
- บันทึกข้อตกลง (MOA): ข้อตกลงอย่างเป็นทางการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายซึ่งระบุข้อกําหนดและเงื่อนไขโดยละเอียดที่ตกลงกันโดยคู่สัญญา
และ ปิดท้ายกับคำถามยอดฮิตนักกฎหมาย เวลาอ่านเอกสารทำความเข้าใจ โดยปกติ มีมาตรฐานหรือไม่ ว่าควรอ่านกี่นาที หรือ ทวนทำความเข้าใจเอกสารกี่รอบ แชร์เคล็ดไม่ลับให้กับผู้อ่าน
ด้วยความที่คุณเอกพล นั้นเชี่ยวชาญ และ เป็นนักกฎหมาย คุณเอกตอบทิ้งท้ายคำถามนี้ไว้ว่า
“ถ้าถามว่าต้องอ่านกี่รอบ ใช้เวลาอ่านกี่นาที คงเป็นเรื่องที่ตอบลำบาก เพราะว่ามันจะขึ้นอยู่กับประเภทของเอกสาร ความซับซ้อนของสัญญา ลักษณะของ transaction ที่จะเกิดขึ้น แต่การทำความเข้าใจในเอกสารแทนลูกความ มองหาว่ามีข้อสัญญาในเอกสารส่วนไหนที่ควรเป็นประเด็นทางกฎหมายหรือควรจะมีการเจรจาต่อรอง สิทธิหน้าที่ของคู่สัญญาที่เราต้องดูไม่ให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสัญญาเกิดขึ้น ถ้าพูดถึงการให้ความสำคัญเกี่ยวกับประเด็นกฎหมายของคนไทยและคนต่างชาติ ต้องยอมรับว่ามีความแตกต่างกันอยู่ คนไทยมักจะนึกถึงนักกฎหมายเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว
“ดังนั้น ในบริบทนี้ นักกฎหมายพร้อมเข้าไปเพื่อแก้ปัญหา แต่ในมุมของคนต่างชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางยุโรปหรืออเมริกา จะให้ความสำคัญและนึกถึงนักกฎหมายในแง่ของการป้องกันมิให้ปัญหาเกิดขึ้น นั่นคือ ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนการลงนามในสัญญา เพื่อให้ความเสี่ยงทางด้านกฎหมายเกิดน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้น ในบริบทนี้ นักกฎหมายจะเข้าไปเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหา”
ทั้งนี้ หากถามว่า อยากฝากอะไรสำหรับผู้ที่สนใจ หรือ บริษัท องค์กรที่ต้องการ นักกฎหมายเข้าไปดูแล เอกพล ตอบทิ้งท้ายด้วยรอยยิ้มที่อบอุ่นว่า
“ในส่วนของบริษัท ผมจะดูแลงานทางด้านกฎหมายที่ครอบคลุมประเด็นกฎหมายทั้งหมดครับ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านกฎหมายธุรกิจ ทั้งในส่วนของงานสัญญา วางแผนภาษี การจดทะเบียนต่างๆ ทรัพย์สินทางปัญญา แรงงาน และอื่นๆ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศครับ นอกจากนี้ก็จะดูแลงานในส่วนคดีความด้วยเช่นกัน”
หากท่านใดที่ต้องการให้เอกพล และ ทีมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในงานที่ปรึกษากฎหมาย หรือ สนใจในตัวบริบทการแปลตีความ เอกสารกฎหมายต่างๆ สามารถติดต่อได้ที่
Facebook: Ekkapon Inter Law
Web Site: https://www.nitithornlaw.com
Line: @thailandlawyer